การเข้ารหัส (Encoder) ในเรื่องของวงจร Logic หมายความว่า การเปลี่ยนระดับของ Logic จากสวิทช์มาเป็นสัญญาณ Logic ตามรหัสที่ต้องการ เช่น มีสวิทช์ 10 ตัว กดสวิทช์เลขหมายใด ก็ให้ Output ของวงจรเป็นสัญญาณ Logic ของรหัส Binary เป็นต้น
ซึ่ง Output ของวงจรเป็นรหัสอะไรก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ในทำนองเดียวกันการถอดรหัส (Decoder) หมายถึง วงจรเปลี่ยนรหัสทาง Input เพื่อเป็นรหัสอื่นตามต้องการ เช่น เปลี่ยนรหัส BCD เป็นแรงดันของเลขฐานสิบเป็นต้น วงจรเข้า-ถอดรหัสสามารถสร้างขึ้นมาจาก Diode ซึ่งต่อกันแบบ Matrix หรือ จากวงจร Gate Combination ก็ได้ ซึ่งทั้งสองชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ใช้ในแง่ของขนาด ความยุ่งยาก ราคา ฯลฯ
การออกแบบวงจรเข้ารหัส
• เป็นการสร้างวงจร Diode Matrix โดยการเปลี่ยนสัญญาณ Logic จากสวิทช์ 8 ตัว เพื่อให้ได้ Output เป็น Octal Code ซึ่งต้องมี 3 Output คือ Output 22, 21, และ 20 นอกจากนี้ยังมีอีก 1 Output เพื่อใช้แสดงการกดเลขหมายเรียกว่า Output Strobe (ST) ส่วน Input ต้องมี 8 เส้น เท่ากับจำนวนของสวิทช์ นั่นคือ เราสามารถเขียนเส้น Matrix ได้เป็น 8 x 4
20 = สวิทช์ 1 + สวิทช์ 3 + สวิทช์ 5 + สวิทช์ 7
21 = สวิทช์ 2 + สวิทช์ 3 + สวิทช์ 6 + สวิทช์ 7
22 = สวิทช์ 4 + สวิทช์ 5 + สวิทช์ 6 + สวิทช์ 7
ความต้าน (R) ที่ต่อจากสวิทช์ลง Ground นั้น ช่วยให้ Input เป็น Logic 0 ขณะยังไม่ได้กดสวิทช์ เนื่องจากวงจร Input จะปล่อยลอยไม่ได้ เมื่อพิจารณาวงจรตามรูปที่ 5.2 และ 5.3 จะเห็นว่า วงจรตามรูปที่ 5.2 คือ ใช้ Diode จะมีราคาถูกกว่าวงจรที่ใช้ Gate เนื่องจากราคาของ Diode ถูกกว่าราคาของ OR Gate ชนิดหลาย Input และเมื่อประกอบเป็นวงจรแล้ว ความยุ่งยากก็น้อยกว่าด้วย
ST = S1 + S2 + S3 + S4 + S5 + S6 + S7 + S8 + S9
D = S8 + S9
C = S4 + S5 + S6 + S7 + S8 + S9
B = S2 + S3 + S4 + S5
A = S1 + S2 + S5 + S6+ S9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น